เทคโนโลยี Blockchain นั้นคือเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยในการกำจัดตัวกลางออกไป หรือ จะเรียกได้ว่าการการกระจายศูนย์ (Decentralize) ของการทำธุรกรรมต่างๆ ออกไปก็ว่าได้ อีกทั้งยังมีความโปร่งใสของข้อมูลซึ่งสามารถตรวจสอบได้อีกด้วย ซึ่งโดยข้อดีต่างๆ ของ Blockchain เหล่านั้นมีประโยชน์มากๆ ในการที่จะถูกนำไปใช้ในธุรกรรมของภาคอุตสาหกรรมต่างๆ หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น การเงิน, ห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) และอื่นๆ ต่างๆ
ซึ่ง Blockchain เองนั้นจะมีสิ่งที่เรียกว่า Smart Contract อยู่ซึ่งมันจะไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลเครือข่ายภายนอก หรือ ดึงข้อมูลจากภายในสู่ภายนอกเครือข่ายได้ ซึ่งการที่แต่ละองค์กร หรือ ภาคอุตสาหกรรมต่างๆ จะนำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้อาจจะต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ภายนอกด้วยไม่ว่าจะเป็นข้อมูลเชิงสถิติต่างๆ หรือ ข้อมูลเชิงประจักษ์อื่นซึ่งอาจจะมีผลโดยตรงหรือโดยอ้อมกับภาคธุรกิจ ดังนั้น เทคโนโลยี Blockchain จึงมีความจำเป็นที่จะต้องหาตัวกลาง เข้ามามีหน้าที่ในการส่งเข้าออกและตรวจสอบข้อมูลที่เกิดขึ้นภายนอกเครือข่ายไปยัง Smart Contract หรือ Blockchain เองโดยอัตโนมัติ ซึ่งเจ้าสิ่งที่เข้ามาทำหน้าที่ตรงนั้นก็คือเจ้าสิ่งที่เราเรียกกันว่า Blockchain Oracle หรือ Data Oracle
Oracle คืออะไร?
Oracle คือ ตัวกลางหรือบริการ Third party ที่เข้ามาช่วยเชื่อมต่อ Smart Contract ที่อยู่ใน Blockchain เข้ากับข้อมูลจาก Real World หรือโลกภายนอก เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นมาปรับใช้เข้ากันกับ Blockchain หรือที่บางอาจจะนิยามกันว่ามันคือสะพานที่เชื่อมโยงระหว่าง On-chain (ข้อมูลภายใน Blockchain) กับ Off-chain (ข้อมูลภายนอกเครือข่าย) ซึ่งมีความสำคัญเป็นอย่างมากกับระบบนิเวศ (Ecosystem) ของ Blockchain เนื่องจากเข้ามาช่วยปลดล๊อคข้อจำกัดของ Smart Contract จากแต่เดิมที่สามารถเข้าถึงได้เฉพาะข้อมูลที่อยู่ภายในเครือข่ายเท่านั้น
ผมขออนุญาตยกตัวอย่างการประยุกต์ใช้ Oracle ในธุรกิจต่าง เช่น การคาดการณ์ทิศทางตลาด โดยรวบรวมข้อมูลต่างๆ นำมาประมวลผล และคาดการณ์ทิศทางราคาของสินทรัพย์ต่าง ๆ ผ่านตัวกลางอย่าง Oracle ว่าจะไปในทิศทางใดในอนาคต การที่จะส่งข้อมูลเข้าไปที่ Decentralized Finance (DeFi) เนื่องจากไร้ตัวกลาง ดังนั้น จึงต้องใช้ข้อมูลที่หลากหลายให้กับเครือข่ายแบบอัตโนมัติ โดยที่ข้อมูลนั้นจะต้องมีความน่าเชื่อถือและมีความถูกต้องอีกด้วย
อย่างไรก็ดีดั้งเดิมนั้น Oracle เป็นบริหารแบบรวมศูนย์ (Centralized) ที่จะต้องมีตัวกลางเป็นผู้ป้อนข้อมูลให้กับ Blockchain ซึ่งค่อนข้างขัดแย้งกับหลักการของหลักการกระจายศูนย์ของ Blockchain ที่กล่าวไว้ข้างต้นอยู่พอสมควร ดังนั้นจึงได้มีกำเนิดในส่วนของ Decentralized Blockchain Oracle ขึ้นมาไม่ว่าจะเป็น Chainlink ($LINK), Band Protocol ($BAND) และน้องใหม่อย่าาง SupraOracle ที่กำลังอยุ่ในระหว่างการพัฒนา
ประเภทของ Blockchain Oracle
ด้วยทรัพยากร Off-chain มีความหลากหลายมาก Blockchai Oracle จึงมีหลายขนาดและรูปแบบ Hybrid Smart Contract ไม่เพียงแต่ต้องการข้อมูลภายนอกและการคำนวณหลายประเภท แต่ยังต้องการกลไกต่างๆ สำหรับการส่งมอบและระดับความปลอดภัยที่แตกต่างกัน โดยทั่วไป Oracle แต่ละประเภทเกี่ยวข้องกับการดึงข้อมูล การตรวจสอบความถูกต้อง การคำนวณ และการส่งข้อมูลไปยังปลายทาง
- Input Oracles — oracle ประเภทนี้ที่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันนี้เรียกว่า “input oracle” ซึ่งดึงข้อมูลจากโลกภายนอก(Off-chain) และส่งไปยังเครือข่าย blockchain สำหรับการใช้ Smart Contract Oracles ประเภทนี้ใช้เพื่อขับเคลื่อน Price Feeds โดยให้ Smart Contract Defi พร้อมการเข้าถึงข้อมูลตลาดการเงินแบบ On-chain
- Output Oracles — ซึ่งแน่นอนตรงตัว มันจะตรงกันข้ามกับ input oracles คือ “output oracles” ซึ่งอนุญาตให้ Smart Contract ส่งคำสั่งไปยังระบบ off-chain ที่กระตุ้นให้ดำเนินการบางอย่าง ซึ่งอาจรวมถึงการแจ้งเครือข่ายธนาคารเพื่อชำระเงิน การบอกผู้ให้บริการพื้นที่เก็บข้อมูลให้จัดเก็บข้อมูลที่ให้มา หรือส่งคำสั่ง ping ระบบ IoT เพื่อปลดล็อกประตูรถเมื่อมีการชำระค่าเช่าออนไลน์
- Cross-Chain Oracles — oracle อีกประเภทหนึ่งคือ cross-chain oracles ที่สามารถอ่านและเขียนข้อมูลระหว่าง ฺBlockchain ต่างๆ cross-chain oracles ช่วยให้สามารถทำงานร่วมกันได้สำหรับการย้ายทั้งข้อมูลและทรัพย์สินระหว่าง Blockchain เช่น การใช้ข้อมูลบนBlockchainหนึ่งเพื่อทริกเกอร์การดำเนินการบนอีกอันหนึ่ง หรือการเชื่อมโยงสินทรัพย์ข้ามเชนเพื่อให้สามารถใช้นอกBlockchain ดั้งเดิม
- Compute-Enabled Oracles — oracle ชนิดใหม่ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมากขึ้นโด Application Smart Contract คือ “Compute-Enabled Oracles” ซึ่งใช้การคำนวณแบบ off-chain ที่ปลอดภัยเพื่อให้บริการแบบกระจายศูนย์ (Decentralized) ซึ่งไม่สามารถทำได้บนเครือข่ายเนื่องจากข้อจำกัดทางเทคนิค กฎหมาย หรือทางการเงิน ซึ่งอาจรวมถึงการใช้ Keepers เพื่อทำให้ Smart Contract ทำงานโดยอัตโนมัติเมื่อมีเหตุการณ์หรือ event ที่กำหนดไว้ล่วงหน้า การคำนวณ Zero-Knowledge Proof เพื่อสร้างความเป็นส่วนตัวของข้อมูล (data privacy) หรือการเรียกใช้ verifiable randomness ได้เพื่อให้แหล่งสุ่มของ Smart Contract พิสูจน์ได้และยุติธรรม